วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดูแลหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ


สถานการณ์ของโรคหัวใจในปัจจุบัน..มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติพบว่าโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง แถมผู้ป่วยยังมีอายุเฉลี่ยน้อยลงด้วยค่ะ

อันที่จริง "โรคหัวใจ" ไม่ใช่ชื่อโรคเฉพาะแต่เป็นคำรวมๆหมายถึง โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด , โรคลิ้นหัวใจ , โรคกล้ามเนื้อหัวใจ , โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในบรรดาโรคหัวใจทั้งหมด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง

ผู้ที่มีโรคหัวใจ ไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ผู้ป่วยอาจไม่มีอาหารผิดปกติเลยก็ได้ ถ้าโรคหัวใจนั้นยังไม่รุนแรงหรือเพิ่งเป็นในระยะแรก ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคหหัวใจหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้


  • เป็นโรคเบาหวาน

  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง

  • มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

  • สูบบุหรี่จัด

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

  • หากมีอาการเตื่อนของโรคหัวใจ อาทิ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ใจสั่น หอบเหนื่อยผิดปกติเวลาออกแรง นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก ฯลฯ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ


การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจแพทย์จะตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรค เช่น วัดความดันโลหิต , ระดับน้ำตาล และ ไขมันในเลือด ตลอดจนตรวจทางโรคหัวใจ อาทิ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ECHO) ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST) หรือตรวจด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีอันทันสมัยอื่นๆที่จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคทางหัวใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้นเป็นต้นว่าการตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (ABI)


การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังได้รับยาบางตัว(กรณีที่เดินบนสายพานไม่ได้) การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Moniter) การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan 64 slice) หรือถ้าจำเป็นอาจต้องตรวจวินิจฉัยด้วย การสวนหัวใจและฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ ภายในห้องปฎิบัติการสวนหัวใจ(CATH LAB) เป็นต้น


การรักษาโรคหัวใจ มีหลายวิธีขึ้นกับปัญหาของผู้ป่วยแพทย์จะพิจารณาวิธีที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาทิ



  • การรักษาทางยา

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและขดลวด กรณีเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (Pacemaker)

  • การผ่าตัดฝังเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติการผ่าตัดหัวใจ(Cardiac surgery)

  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ ผ่าตัดหัวใจที่มีความผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิด

  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยง (Bypass) หลอดเลือดหัวใจ

  • ผ่าตัดหัวใจอื่นๆ

ผู้ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องได้รับการดูแลภายหลังรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แพทย์จะนัดพบผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการรักษา ดูแลเรื่องการให้ยาหรือให้คำแนะนำในการปฎิบัติตัวต่างๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี แนะนำโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นต้น


สำหรับโรคหัวใจ..พรุ่งนี้อาจสายเกิน หากท่านสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ ปัจจุบันมีสถานพยาบาลแห่งที่มีความพร้อมในด้านทีมแพทย์และบุคลากร ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่จะช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น